4 แนวคิดเอาชนะเพื่อนร่วมงานสายแขวะ
ปัญหา“เพื่อนร่วมงานชอบแขวะ”หรือ“เพื่อนในกลุ่มชอบแขวะ”นั้น แทบจะเรียกได้ว่าเป็นวาระแห่งชีวิตของใครหลายๆ คน ไม่ว่าจะเป็นคนช่วงวัยรุ่น วัยทำงาน
หรือกระทั่ง วัยเกษียณก็ตาม ทุกๆ คนล้วนแล้วแต่ มีโอกาสประสบพบเจอ กับคำจิกกัดได้ด้วยกันทั้งนั้น แม้หลายๆ คนจะไม่เข้าใจเลยว่า อีกฝ่ายแขวะตนเองด้วยเหตุผลอันใด
เพราะบางทีต่อให้อยู่เฉยๆ ก็ยังถูกแซะได้ แต่ในเมื่อเราไม่มีทางเก็ท ฟีลลิ่งอีกฝ่ายได้ถ่องแท้ เราก็ควรปรับโฟกัสใหม่
ให้มาอยู่ที่ตัวเรา หาแนวคิดรับมือ กับสถานการณ์ดังกล่าว อย่างเหมาะสมจะเข้าทีกว่า ส่วนแนวคิดที่ว่าจะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลยค่ะ
1.มองกันคนละมุม
บางครั้งบางที คำแขวะก็เกิดขึ้น เพราะการมีมุมมองที่แตกต่างกัน ต่างฝ่ายต่างมีเหตุผลเป็นของตนเอง ทำให้เกิดความไม่ลงรอย เป็นที่มาของการอยากแซะกันขึ้น
ลองใช้แนวคิด “มองกันคนละมุม” เพื่อทำความเข้าใจ ความรู้สึกนึกคิดของเขาดูก็ไม่เสียหาย อาจมีการกระทำ หรือคำพูดบางอย่างของเรา ที่ทำให้เขาเข้าใจไปคนละเรื่อง
หรือสำหรับบางเรื่อง อาจไม่มีคนผิดอยู่จริง แค่แต่ละคนมีมุมมอง ที่แตกต่างกันไปก็เท่านั้น ถ้ามีโอกาสอาจ ลองพูดคุยกับเขาเพื่อปรับความเข้าใจกันดูก็ได้
ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก อยู่สักหน่อย แต่เชื่อไหมว่า มีหลายกรณีเชียวแหละ ที่คนไม่ชอบหน้ากัน มานั่งจับเข่าคุยกัน เถียงกันไปเถียงกันมายกหนึ่ง สุดท้ายกลายมาเป็นเพื่อนซี้กันเฉย
2.ทุกสิ่งในโลกล้วนอนิจจัง
เอาเข้าจริงๆ ก็คงไม่มีใครในโลกนี้ อยากได้ยินคำแขวะ แซะ จิกกัดเล่นๆ หรอก แต่ในเมื่อเรา มิอาจเข้าใจได้ว่า คนที่พูดแขวะใส่เรานั้น เขาทำไปด้วยเหตุผลอันใด
และบางทีก็อาจไม่มีวันเข้าใจได้ ในชาตินี้ ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่ต้องมัวคิดหาเหตุผลให้เสียเวลา แล้วหันมาใช้แนวคิด “ทุกสิ่งในโลกล้วนอนิจจัง” ดูดีกว่า คิดเสียว่า
สร รพสิ่งบนโลกล้วน เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อารมณ์ความรู้สึกต่างๆ เองก็เช่นกัน วันนี้เขาอาจจะแซะเราเอาสนุก วันพรุ่งนี้ เขาอาจจะหันไปแซะเรื่องตึกรามบ้านช่อง
แล้ววันต่อไปเขา ก็อาจจะหยุดแซะทุกสิ่งขึ้นมาเฉยๆ ในเมื่อทุกสิ่งบนโลก นี้ล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป การที่เรายึดฟีลลิ่ง ‘ทำไมต้องมาแขวะเราด้วย’ เอาไว้
ก็เท่ากับว่าเรานั่นแหละ ที่กำลังฝืนธร รมชาติอยู่ ฉะนั้น ยามใดที่รู้สึกเสียใจเพราะคำจิกกัดขึ้นมา พย าย ามอย่ายึดติดกับคำพูดพวกนั้น เรียนรู้ที่จะปล่อยวางให้ได้
3.วันพรุ่งนี้ ต้องดีกว่าเดิม
ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เข้ามาในชีวิตของเรา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีหรือร้ าย ต่างสอนบทเรียนชีวิตให้เรากันคนละอย่าง สองอย่าง บทเรียนจากประสบการณ์นั้นมีค่า
เพราะเป็นสิ่งที่หาไม่ได้ จากตำราเล่มไหน แต่เป็นสิ่งที่เราต้องประสบ พบเจอด้วยตัวเอง เพื่อให้ตัวเรา เข้าใจในการใช้ชีวิตมากยิ่งขึ้น ยามใดที่คำแขวะ ทำให้ท้อแท้
ลองใช้แนวคิด “วันพรุ่งนี้ต้องดีกว่าเดิม” แล้วมองย้อนกลับไป ในวัยเยาว์ดูสิ สมัยเด็กเราเคยวิ่งเล่นหกล้มมา ไม่รู้ตั้งกี่ครั้ง แรกๆ เราอาจเจ็ บจนร้องไห้แงๆ
แต่พอหกล้มบ่อยๆ เข้า เราก็ไม่ถือสากับบา ดแผ ลฟกช้ำตามร่างกายอีกต่อไป ไม่ต่างอะไรกับ คำแขวะทั้งหลาย วันนี้เราฟังแล้วอาจเจ็ บใจ ทำอะไรไม่ถูก
แต่นานวันไป เราจะมีภูมิต้านทานมากขึ้น จนวันนึงเราอาจ ชินชากับคำพูดพวกนั้น ไม่ให้ค่ากับมันอีกต่อไป
เมื่อปรับใจให้สู้กับคำจิกกัดได้แล้ว เราจะเริ่มรู้สึกว่า เสียดายเวลา ที่มัวเอาไปขบคิดเรื่องไร้สาระจริงๆ รู้อย่างนี้น่าจะเอาเวลา ไปหาความสุขใส่ตัวดีกว่า
4.อุปสร รคคือแรงผลักดันชีวิต
การทำงานทุกชนิด ย่อมมีอุปสร รค ไม่ว่าเราจะโอเคกับมันหรือไม่ แต่เราก็ต้องหาทางรับมือกับมันให้ได้ เพราะสิ่งที่นายจ้าง สนใจคือการทำงานให้ได้งาน
ไม่ใช่เรื่องสงคราม การเมืองในบริษัท หากคำแขวะเป็นสิ่งที่บั่นทอน กำลังใจในการทำงานของเรายิ่งนัก ลองปรับมาใช้แนวคิด “อุปสร รคคือแรงผลักดันชีวิต”
ก็เข้าท่า จัดโซนคำแซะทุกคำ ที่เข้ามาให้อยู่ในหมวดหมู่อุปสร รค ของการทำงานไปเลย แล้วหยิบยก อุปสร รคพวกนี้มาใช้เป็นแรงผลักดัน ชีวิตย ามที่รู้สึกหมดไฟ
ในการทำงานก็ได้ เช่น วันนี้เราอาจถูกแขวะ ว่าทำงานช้า ทั้งๆ ที่ความจริงเราก็ทำงานได้ดีตามปกติ เอาแรงผลักดัน ตรงนี้มาทำงานให้เป๊ะปังกว่าเดิม
ชนิดที่ว่าหัวหน้าเห็นแล้วแฮปปี้ ต้องฉี กยิ้มกันไปเลยก็ได้ หรือถ้าเขาแขวะ ว่าทำงานบ ก พร่องตรงไหน ก็หาวิธีอุดรูรั่วนั้นเสีย คิดเสียว่าเป็นแรงจูงใจ ในการทำงานให้รอบคอบอีกทาง
ขอบคุณ : gangbeauty.com